Skip to content

TOPPIC TIME

เวลาของเรื่องเล่า

  • TOPPIC TIME
  • NEWS
    • POLITICS
    • EDU-ART
    • LOCAL
    • OVERSEA
    • SPORT
  • ECONOMY
  • ENTERTAIN
    • CELEB
    • MUSIC
    • MOVIE
    • FOREIGN
  • LIFESTYLE
    • BEAUTY
    • FASHION
    • HEALTH
    • FOOD
    • TRAVEL
    • HOME
    • IT
    • AUTOMOTIVE
  • SECRET
    • HORO
    • MYSTIC
    • LOTTO
  • FOOD
  • TRAVEL
  • HEALTH
  • SPORT
  • SUSTAIN
    • PEOPLE
    • CAREER
    • CORPORATE
    • ENVIROMENT
  • CLIP

‘นอนไม่หลับ’ เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

'นอนไม่หลับ' เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

'นอนไม่หลับ' เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

น้องนอนไม่หลับ หัวใจมันกระสับกระส่าย…ไหนใครนอนไม่หลับยกมือขึ้น! TOPPIC Time ชวนมาสำรวจกันว่า อาการแบบนี้เราเป็น “โรคนอนไม่หลับ” ใช่หรือเปล่า?

'นอนไม่หลับ' เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์
‘นอนไม่หลับ’ เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

หากเราต้องใช้เวลาที่จะนอนนานกว่า 20 นาทีถึงจะหลับได้ ก็ถือว่าเริ่มเข้าข่ายเป็น “โรคนอนไม่หลับ” ที่สมัยนี้คนเป็นกันเยอะมาก ๆ โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท นอนหลับยาก อาการของโรคนอนไม่หลับอาจมีการแสดงออกที่หลากหลาย เช่น

  • นอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับตั้งแต่ต้น
  • ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางคืน และ/หรือตื่นเช้าเกินไป
  • หลับตื้น หลับไม่สนิท หลับแล้วตื่นบ่อย ๆ (Interrupted sleep)
  • ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน เหล่านี้ เป็นต้น

คนเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง?

โดยปกติ คนเรามีชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกันตามช่วงอายุ โดยจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัยเป็นดังนี้

  • เด็กแรกเกิด: 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 1 ปี: 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 2 ปี: 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 3-5 ปี: 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 6-13 ปี: 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 14-17 ปี: 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่: 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับผู้สูงอายุจะมีชั่วโมงการนอนที่สั้นลงได้ เพราะร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

ทั้งนี้บุคคลแต่ละคนอาจมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่มาก หรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยได้ วิธีการสังเกตอย่างง่ายว่าตนเองนอนเพียงพอ คือถ้ากลางวันรู้สึกสดชื่นดีไม่ง่วงเหงาหาวนอนนั่นคือร่างกายได้รับการนอนที่เพียงพอแล้ว

“โรคนอนไม่หลับ” สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ ซึ่งโรคนอนไม่หลับนี้อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ นอกอย่างไรก็ตามการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นอาการที่ควรได้รับการประเมินและตรวจรักษาอย่างเหมาะสม เพราะอาจส่งผลเสียต่อการทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และยังนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ ความจำ และสมาธิ นอกจากนี้ การนอนไม่หลับยังอาจบ่งชี้ถึงโรคทางจิตเวชหลายชนิด

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากปัจจัยทางสุขภาพกายหรือทางจิตใจหลายอย่าง สาเหตุทางการแพทย์ที่พบบ่อย ได้แก่ ความเจ็บปวดทางกาย ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) หรืออาจเกิดจากได้รับยาบางตัวที่มีผลข้างเคียงทำให้นอนไม่หลับเป็น เช่น ยาขยายหลอดลมสำหรับโรคหอบหืด ยาขับปัสสาวะ

ประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการนอนไม่หลับ มีสาเหตุจากปัญหาทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder) โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder) หรืออาจเกิดจากความวิตกกังวล หรือความเครียดที่เข้ามากระทบในช่วงนั้น โดยสาเหตุที่ต่างกัน อาจทำให้ลักษณะการนอนไม่หลับแตกต่างกันไป นอกจากนี้การใช้ยานอนหลับเป็นเวลานานอาจส่งผลให้อาการนอนไม่หลับแย่ลง และเกิดการดื้อยาได้

นอนไม่หลับ
‘นอนไม่หลับ’ เช็กเลย! อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

แนวทางการดูแลตนเองเบื้องต้น เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ

  • เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ เบื้องต้นมีแนวทางการปฏิบัติเพื่อช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ดังต่อไปนี้
  • เข้านอนเมื่อรู้สึกง่วง
  • หากนอนไม่หลับภายใน 15 ถึง 20 นาที อาจลุกจากเตียงเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย แล้วจึงกลับมานอนอีกครั้ง
  • ใช้เตียงเพื่อการนอนเท่านั้น ไม่อ่านหนังสือ รับประทานอาหาร ดูทีวี หรือทำงานบนเตียง
  • เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน
  • จัดสภาพแวดล้องในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่น มืดสนิท ไม่มีเสียงรบกวน หรืออาจมีดนตรีเบาๆ หรือเสียงที่ทำให้นอนหลับ เช่น White noise มีเตียงและหมอนที่นอนแล้วสบาย อุณหภูมิเหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  • ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในช่วงเย็นและก่อนเข้านอน เช่น อ่านหนังสืออ่านเล่น ฟังธรรมะ ฟังเพลง นั่งสมาธิ
  • หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตต่าง ๆอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงการอื่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้หลับไม่สนิท
  • ออกกำลังกายทุกวัน แต่เว้นช่วงเวลาก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • จัดการกับความเครียด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ
  • อาหารบางชนิดมีสารที่ช่วยเรื่องการนอนได้ เช่น นม กล้วย โดยรับประทานก่อนนอนในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนจุกแน่นท้อง

อาการที่ควรปรึกษาแพทย์

  • มีปัญหาในการนอนหลับหรือหลับไม่สนิทเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน
  • ใช้ยานอนหลับนานกว่า 2 ถึง 4 สัปดาห์
  • การนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย การทำงาน หรือการใช้ชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Tags: นอนไม่หลับ สุขภาพ โรคนอนไม่หลับ

Continue Reading

Previous: เช็กสเปค ราคา realme 11 5G realme 11x 5G มือถือ สมาร์ทโฟน สุดน่าซื้อ!!
Next: ‘ตั๊กแตน ชลดา’ หอบของตอบแทน ‘เอ ศุภชัย’ แบบจุกๆ

Most Viewed Posts

  1. ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ กำลังใจล้น ลือถูกมือดีปล่อยคลิปหลุด ภาพลับ!!
  2. คนเราขาดอากาศหายใจหรือสมองขาดออกซิเจนได้กี่นาที? คนเราขาดอากาศหายใจหรือสมองขาดออกซิเจนได้กี่นาที?
  3. ‘เจ้าหญิงดิสนีย์’ กับประวัติ 11 เจ้าหญิง แรงบันดาลใจของเด็กผู้หญิง!!
  4. 'เบียร์ เดอะวอยซ์' เคลื่อนไหว ต้นสังกัด 'ท็อป Lazyloxy' เตรียมดำเนินคดีชาวเกรียน!  ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ เคลื่อนไหว ต้นสังกัด ‘ท็อป Lazyloxy’ เตรียมดำเนินคดีชาวเกรียน! 
  5. ก่อนคลิปว่อน!! ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ เคยโพสต์เป็นลางบางอย่าง

You may have missed

เสน่ห์ ‘ละคร’ ยุคเก่า ‘หนึ่งในร้อย’ ปลุกย้ำความทรงจำวันวาน

เสน่ห์ ‘ละคร’ ยุคเก่า ‘หนึ่งในร้อย’ ปลุกย้ำความทรงจำวันวาน

อยากทำอะไร ?? ใน “ฤดูหนาว”

อยากทำอะไร ?? ใน “ฤดูหนาว”

เมืองที่เป็นมิตรอันดับ 4 ของโลก ‘กรุงเทพมหานคร’ รู้สึกอย่างไร เมื่อต้องใช้ชีวิตที่นี่??

เมืองที่เป็นมิตรอันดับ 4 ของโลก ‘กรุงเทพมหานคร’ รู้สึกอย่างไร เมื่อต้องใช้ชีวิตที่นี่??

จะรู้สึกอย่างไร?? เมื่อได้สัมผัสพลังแห่งศรัทธา ‘ประเพณีไหลเรือไฟ’

จะรู้สึกอย่างไร?? เมื่อได้สัมผัสพลังแห่งศรัทธา ‘ประเพณีไหลเรือไฟ’

ติดต่อโฆษณา TOPPIC Time โทร. 064-562-4193 | DarkNews by AF themes.