Skip to content

TOPPIC TIME

เวลาของเรื่องเล่า

  • TOPPIC TIME
  • NEWS
    • POLITICS
    • EDU-ART
    • LOCAL
    • OVERSEA
    • SPORT
  • ECONOMY
  • ENTERTAIN
    • CELEB
    • MUSIC
    • MOVIE
    • FOREIGN
  • LIFESTYLE
    • BEAUTY
    • FASHION
    • HEALTH
    • FOOD
    • TRAVEL
    • HOME
    • IT
    • AUTOMOTIVE
  • SECRET
    • HORO
    • MYSTIC
    • LOTTO
  • FOOD
  • TRAVEL
  • HEALTH
  • SPORT
  • SUSTAIN
    • PEOPLE
    • CAREER
    • CORPORATE
    • ENVIROMENT
  • CLIP

อาหาร สิทธิมนุษยชน ทางออกที่ดีอยู่ตรงไหน?

อาหาร สิทธิมนุษยชน ทางออกที่ดีอยู่ตรงไหน

อาหาร สิทธิมนุษยชน ทางออกที่ดีอยู่ตรงไหน

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บริษัทอาหารทั่วโลก เผชิญความท้าทายด้าน สิทธิมนุษยชน ทางออกที่ดีอยู่ตรงไหน?

ป่าสาละ พร้อมด้วยพันธมิตร ทั้งภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหารจากบริษัทชั้นนำมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร  ในหัวข้อ “Human Rights Trends and Challenges in Food Supply Chain in Asia”

โดยวัตถุประสงค์ของเสวนาในครั้งนี้เพื่อสร้างบทสนทนาระหว่างบริษัทอาหารและผู้ทำวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานอาหาร หรือ Food Supply Chain โดยมี Shift ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมแบ่งปันมุมมองด้านกฎหมายในการตรวจสอบธุรกิจด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม (Corporate Sustainability Due Diligence หรือ CS3D)

Tammy Vallejo

Tammy Vallejo, Advisor และ Federico Burlon, Deputy Director of Business Engagement จาก Shift องค์กรไม่แสวงกำไร ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงร่างกฎหมายการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้านของสหภาพยุโรป หรือ HRDD (Human Rights Due Diligence) ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจและสร้างความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาระให้บริษัทเริ่มดำเนินการตรวจสอบ หรือนำการตรวจสอบบรรจุอยู่ในนโยบายของบริษัท

Federico Burlon

จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการกว่า 37 รายทั่วโลกในงานวิจัย From Policy to Partnership ของ Shift ได้สรุปผลความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน ที่แต่ละบริษัทเจอร่วมกัน 5 ประการ คือ

  1. ความคาดหวังด้านความยั่งยืนถูกโอนความรับผิดชอบไปให้ซัพพลายเออร์ ซึ่งขาดความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างซัพพลายเออร์และตัวบริษัทเอง
  2. แทนที่จะเป็นการมอบรางวัลหรือสร้างแรงจูงใจ หลายบริษัทกลับเลือกใช้บทลงโทษแก่ซัพพลายเออร์หรือลูกจ้าง
  3. ลูกจ้างหรือซัพพลายเออร์ขาดแรงสนับสนุนจากบริษัทนายจ้าง
  4. บริษัทมักไม่ค่อยได้ตรวจสอบนโยบายหรือรูปแบบธุรกิจว่าสร้างผลกระทบต่อซัพพลายเชนอย่างไรบ้าง
  5. บริษัทพยายามทำความเข้าใจคุณค่าของการมีส่วนร่วมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของตน

แม้การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนจะส่งผลดีแก่บริษัท สังคม ทางด้านความยั่งยืน แต่บริษัทต่างก็ต้องเผชิญกับผลกระทบด้านลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้าน Federico Burlon ได้เผยถึงแนวคิดที่ธุรกิจสามารถนำไปเตรียมตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ “การเยียวยา (Remedy)” โดยยกตัวอย่างแนวปฏิบัติที่น่าสนใจ เช่น การเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่รอจนกว่าจะเกิดความเสียหายแล้วค่อยแก้ไข ทำความเข้าใจที่จะรับมือความเสียหายในรูปแบบที่แตกต่าง หรือร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ องค์กรต่างๆ ในการรับมือการเยียวยานั้น

สฤณี อาชวานันทกุล

ด้าน Food Supply Chain กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด หนึ่งในพาร์ตเนอร์ของโปรแกรม Fair for All (F4A) นำเสนอความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานอาหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ครอบคลุม 16 ห่วงโซ่อาหารในวิจัยสังเคราะห์ (Synthesis Report) โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยขององค์กรพาร์ตเนอร์ภาคประชาสังคมทั้ง Prakarsa และ SAAPE มาสำรวจการเปิดเผยนโยบายของการส่งออกอาหารจากประเทศต่างๆ เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารทะเล การประมง ชา กาแฟ และข้าว โดยยกตัวอย่างห่วงโซ่อาหารทะเลจากศรีลังกา บังคลาเทศ และปากีสถาน งานวิจัยพบความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนหลายประการ ทั้งการละเมิดกฎหมายและสิทธิแรงงาน แรงงานผู้หญิงโดนเอารัดเอาเปรียบ อคติทางเพศ ค่าแรงต่ำ การใช้แรงงานเด็ก การเข้าไม่ถึงระบบสาธารณูปโภคและระบบทางการแพทย์ของแรงงาน

“ปราชญ์ เกิดไพโรจน์” ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน ภูมิภาคเอเชีย บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทอาหารทะเลรายใหญ่ระดับโลก ที่มีแผนการปรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลผ่าน Seachange แผนการปรับรูปแบบในอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยจะใช้เงินลงทุนจากกำไรในปี 2022 กว่า 7.2 พันล้านบาทเพื่อความยั่งยืนในอีก 8 ปีข้างหน้า สำหรับเป้าหมาย 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อผู้คน ที่มุ่งเน้นสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และประการที่สองเพื่อโลก ที่มุ่งเน้นการเคลื่อนไหวทางภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะทางทะเล และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งประเด็นทั้งสองนี้ถูกแบ่งออกมาเป็นภารกิจที่สำคัญของบริษัท 11 ข้อ เช่น จัดหาแหล่งวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Sourcing) ทั้งเรือประมงและฟาร์มอาหารทะเล ภายในปี 2023 ให้ผู้หญิงมีตำแหน่งผู้จัดการถึง 50% ภายในปี 2023 หรือจะปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เป็นต้น นอกจากนี้ ซัพพลายเชนของบริษัทมีจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติ เช่น ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก จ่ายเงินอย่างยุติธรรม และดูแลแรงงานข้ามชาติอย่างครบวงจร

ปราชญ์ เกิดไพโรจน์

นอกจากนี้ ปราชญ์เผยกรอบการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยูเนี่ยนที่ประกอบไปด้วย  6 เสาหลักสำคัญที่ดัดแปลงจากเกณฑ์ของ UNGP คือ

  1. กลยุทธ์ เป้าหมายและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่มีเป็นพื้นฐาน
  2. ความเข้าใจความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท
  3. หาทางลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่จะเกิดขึ้นและมีผลกระทบกับการดำเนินงาน
  4. ตรวจหาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนด้วยการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  5. จัดหาวิธีการเยียวยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบ
  6. การตรวจสอบว่าสาธารณชนและผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท

สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง

ภาษาอังกฤษ https://www.facebook.com/SalForestCo/videos/1154724558795065

ภาษาไทย https://www.facebook.com/SalForestCo/videos/1018678179566241/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Tags: Human Rights บุคคล ป่าสาละ ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน อาหาร

Continue Reading

Previous: กองสลากฯ ดีเดย์ 17 ก.ย. นี้ ขายสลาก L6 ผ่านแอปเป๋าตัง
Next: คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ? เช็กราคา iPhone 15 ทุกสี ทุกรุ่น

Most Viewed Posts

  1. ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ กำลังใจล้น ลือถูกมือดีปล่อยคลิปหลุด ภาพลับ!!
  2. คนเราขาดอากาศหายใจหรือสมองขาดออกซิเจนได้กี่นาที? คนเราขาดอากาศหายใจหรือสมองขาดออกซิเจนได้กี่นาที?
  3. ‘เจ้าหญิงดิสนีย์’ กับประวัติ 11 เจ้าหญิง แรงบันดาลใจของเด็กผู้หญิง!!
  4. 'เบียร์ เดอะวอยซ์' เคลื่อนไหว ต้นสังกัด 'ท็อป Lazyloxy' เตรียมดำเนินคดีชาวเกรียน!  ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ เคลื่อนไหว ต้นสังกัด ‘ท็อป Lazyloxy’ เตรียมดำเนินคดีชาวเกรียน! 
  5. ก่อนคลิปว่อน!! ‘เบียร์ เดอะวอยซ์’ เคยโพสต์เป็นลางบางอย่าง

You may have missed

เสน่ห์ ‘ละคร’ ยุคเก่า ‘หนึ่งในร้อย’ ปลุกย้ำความทรงจำวันวาน

เสน่ห์ ‘ละคร’ ยุคเก่า ‘หนึ่งในร้อย’ ปลุกย้ำความทรงจำวันวาน

อยากทำอะไร ?? ใน “ฤดูหนาว”

อยากทำอะไร ?? ใน “ฤดูหนาว”

เมืองที่เป็นมิตรอันดับ 4 ของโลก ‘กรุงเทพมหานคร’ รู้สึกอย่างไร เมื่อต้องใช้ชีวิตที่นี่??

เมืองที่เป็นมิตรอันดับ 4 ของโลก ‘กรุงเทพมหานคร’ รู้สึกอย่างไร เมื่อต้องใช้ชีวิตที่นี่??

จะรู้สึกอย่างไร?? เมื่อได้สัมผัสพลังแห่งศรัทธา ‘ประเพณีไหลเรือไฟ’

จะรู้สึกอย่างไร?? เมื่อได้สัมผัสพลังแห่งศรัทธา ‘ประเพณีไหลเรือไฟ’

ติดต่อโฆษณา TOPPIC Time โทร. 064-562-4193 | DarkNews by AF themes.